การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
ภาคกลาง
ภาคกลางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายเพมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่างๆมากมาย ทั้งตามฤดูกาล และตามเทศกาล ตลอดจนตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง
ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง เป็นต้น และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลางคือ การร่ายรำที่ใช้มือ แขน และลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียงและยักตัว สังเกตได้จาก รำลาวกระทบไม้ ที่ดัดแปลงมาจาก เต้นสาก การเต้นเข้าไม้ของอีสานในการเต้นสากก็เป็นการเต้นกระโดดตามลีลาอีสาน แต่การรำลาวกระทบไม้ที่กรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นใหม่นั้น นุ่มนวลอ่อนหวาน กรีดกรายร่ายรำ แม้การเข้าไม้ก็นุ่มนวลมาก
รำวง
เต้นกำรำเคียว
การแสดงพื้นเมืองภาคกลางมีหลายอย่าง เช่น รำวง รำเหย่อย เต้นกำรำเคียว เพลงเรือลำตัด เพลงพวงมาลัย ฯลฯ
ที่มา http://jenniasketmanee.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น