ความสำคัญ/หลักการเหตุผล
รำวงพื้นบ้านหรือรำโทนในภาคกลางนั้น ชาวจันทน์เรียกว่า รำวงเขี่ยใต้ จากการบอกเล่าของ
นายเล็ก ประมาณทรัพย์ ชาวบ้านตำบลเกวียนหัก เหตุเพราะสมัยก่อน ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การละเล่นหรือการแสดงต่างๆ ที่แสดงในตอนกลางคืน อาศัยแสงสว่างจากการจุดไต้ ปักไว้กลางลาน ถ้าเป็นบริเวณลานที่ใช้จัดแสดงเช่น รำวง ก็จะใช้ไต้ใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ ปักไว้ และจุดให้แสงสว่าง เมื่อรำวงเริ่มรำไปสัก ๒ – ๓ รอบ ไต้ที่จุดไว้ก็เริ่มมอดลง ผู้รำที่เป็นผู้ชายก็จะแวะไปเขี่ยไต้ให้คุโชนขึ้นมาใหม่ เป็นเช่นนี้ไปตลอดจนกว่ารำวงจะเลิก สมัยต่อมาก็อาศัยแสงสว่างจากตะเกียงเจ้าพายุ
เดิมรำวงพื้นบ้านจะมีเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียว คือ กลองทัด ชาวบ้านเกวียนหักเรียกว่ากลองเพล (กลอง - เพน) ใช้ตีกำกับจังหวะ ซึ่งมีอยู่จังหวะเดียว คือ แต็ก ตุง ตุง แต็ก ตุง ตุง ถ้าต้องการให้เพลงที่ร้องเป็นทำนองเร็วขึ้น ก็ตีกลองให้จังหวะกระชั้นขึ้น
คนที่ร้องเพลงรำวง เรียกว่า กองเชียร์ เพราะนอกจากร้องเพลงให้นางรำและคนรำได้แสดงท่าทางรำวงกันสนุกสนานแล้ว เมื่อหมดรอบ ก็จะร้องเชื้อเชิญให้หนุ่ม ๆ นักรำทั้งหลายซื้อตั๋วเข้ามาโค้งนางรำ เป็นเช่นนี้จนกว่ารำวงจะเลิก ประมาณเที่ยงคืน บางครั้งถ้ามีหนุ่มนักรำจำนวนมาก รำวงก็จะเลิกจนตีหนึ่ง ทั้งนางรำและคนรำขณะที่รำวงไปนั้นก็จะร้องเพลงไปด้วย เพื่อให้เกิดเสียงดังขึ้นอีก ซึ่งทำให้เกิดความสนุกสนาน ต่อมามีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านเรียกว่า เครื่องปั่นไฟ ก็อาศัยแสงสว่างจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการร้องเพลงก็ใช้เครื่องขยายเสียงเข้ามาช่วย และมีการพัฒนานำเครื่องดนตรีชนิดอื่นเข้ามาเสริม เช่น ฉิ่ง กรับ ลูกซัด รำวงย้อนยุคหรือรำวงพื้นบ้าน เป็น ศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของชาวบ้าน ซึ่งแฝงไว้ด้วยความสนุกสนาน โดยใช้ท่าทาง และใช้ธรรมชาติที่พบเห็นมาแต่งเป็นเพลงร้องง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น ท่าทางของสัตว์บางชนิด อย่างเช่น นกเขา กระต่าย เวลารำก็แสดงท่าทางเลียนแบบกริยาของสัตว์เหล่านั้น เวลานกเขาคู ก็ทำท่าทางนกเขาขันคู
คณะรำวง ประกอบด้วย นางรำ จำนวนกี่คนก็แล้วแต่ความชอบ ความสมัครใจของผู้เป็นนางรำ คนร้องเพลงเชียร์รำวง คนคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คนตีกลอง
คณะรำวงจะอยู่ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าภาพที่มาจัดจ้างไปแสดง และความนิยมของนักรำ ในสมัยนั้น งานที่มีรำวง ส่วนมากจะเป็นงานบวช งานวัด งานวันวิสาขบูชา งานประจำปี การว่าจ้างรำวงไปแสดง เจ้าภาพจะมีรายได้ด้วย เพราะคนจำหน่ายตั๋วรำวงคือเจ้าภาพนั่นเอง อัตราค่าตั๋วรอบละ ห้าสิบสตางค์ ส่วนนางรำ ก็ได้ค่าตัวคืนละตั้งแต่ ๓๐ บาท จนถึง ๑๐๐ บาท สมัยก่อนนั้น ประมาณ ๖๐ กว่าปีมาแล้ว ค่าเงินยังแพงอยู่ ป้าสนม บุญประกอบ อดีตนางรำ ประจำคณะรำวง เล่าให้ฟังว่า ค่าตัวที่ได้รับในการแสดงนั้น เคยได้รับตั้งแต่ สามสิบบาท จนถึง หนึ่งร้อยบาท แล้วยังมีรายได้นอกเหนือจากค่าจ้าง คือถ้านักรำติดอกติดใจ ก็จะมีรางวัลรอบนอกอีก งานใดที่มีรำวงไปเล่น ย่อมแสดงถึงความมีฐานะของเจ้าภาพด้วย
นายเล็ก ประมาณทรัพย์ ชาวบ้านตำบลเกวียนหัก เหตุเพราะสมัยก่อน ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การละเล่นหรือการแสดงต่างๆ ที่แสดงในตอนกลางคืน อาศัยแสงสว่างจากการจุดไต้ ปักไว้กลางลาน ถ้าเป็นบริเวณลานที่ใช้จัดแสดงเช่น รำวง ก็จะใช้ไต้ใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ ปักไว้ และจุดให้แสงสว่าง เมื่อรำวงเริ่มรำไปสัก ๒ – ๓ รอบ ไต้ที่จุดไว้ก็เริ่มมอดลง ผู้รำที่เป็นผู้ชายก็จะแวะไปเขี่ยไต้ให้คุโชนขึ้นมาใหม่ เป็นเช่นนี้ไปตลอดจนกว่ารำวงจะเลิก สมัยต่อมาก็อาศัยแสงสว่างจากตะเกียงเจ้าพายุ
เดิมรำวงพื้นบ้านจะมีเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียว คือ กลองทัด ชาวบ้านเกวียนหักเรียกว่ากลองเพล (กลอง - เพน) ใช้ตีกำกับจังหวะ ซึ่งมีอยู่จังหวะเดียว คือ แต็ก ตุง ตุง แต็ก ตุง ตุง ถ้าต้องการให้เพลงที่ร้องเป็นทำนองเร็วขึ้น ก็ตีกลองให้จังหวะกระชั้นขึ้น
คนที่ร้องเพลงรำวง เรียกว่า กองเชียร์ เพราะนอกจากร้องเพลงให้นางรำและคนรำได้แสดงท่าทางรำวงกันสนุกสนานแล้ว เมื่อหมดรอบ ก็จะร้องเชื้อเชิญให้หนุ่ม ๆ นักรำทั้งหลายซื้อตั๋วเข้ามาโค้งนางรำ เป็นเช่นนี้จนกว่ารำวงจะเลิก ประมาณเที่ยงคืน บางครั้งถ้ามีหนุ่มนักรำจำนวนมาก รำวงก็จะเลิกจนตีหนึ่ง ทั้งนางรำและคนรำขณะที่รำวงไปนั้นก็จะร้องเพลงไปด้วย เพื่อให้เกิดเสียงดังขึ้นอีก ซึ่งทำให้เกิดความสนุกสนาน ต่อมามีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านเรียกว่า เครื่องปั่นไฟ ก็อาศัยแสงสว่างจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการร้องเพลงก็ใช้เครื่องขยายเสียงเข้ามาช่วย และมีการพัฒนานำเครื่องดนตรีชนิดอื่นเข้ามาเสริม เช่น ฉิ่ง กรับ ลูกซัด รำวงย้อนยุคหรือรำวงพื้นบ้าน เป็น ศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของชาวบ้าน ซึ่งแฝงไว้ด้วยความสนุกสนาน โดยใช้ท่าทาง และใช้ธรรมชาติที่พบเห็นมาแต่งเป็นเพลงร้องง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น ท่าทางของสัตว์บางชนิด อย่างเช่น นกเขา กระต่าย เวลารำก็แสดงท่าทางเลียนแบบกริยาของสัตว์เหล่านั้น เวลานกเขาคู ก็ทำท่าทางนกเขาขันคู
คณะรำวง ประกอบด้วย นางรำ จำนวนกี่คนก็แล้วแต่ความชอบ ความสมัครใจของผู้เป็นนางรำ คนร้องเพลงเชียร์รำวง คนคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คนตีกลอง
คณะรำวงจะอยู่ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าภาพที่มาจัดจ้างไปแสดง และความนิยมของนักรำ ในสมัยนั้น งานที่มีรำวง ส่วนมากจะเป็นงานบวช งานวัด งานวันวิสาขบูชา งานประจำปี การว่าจ้างรำวงไปแสดง เจ้าภาพจะมีรายได้ด้วย เพราะคนจำหน่ายตั๋วรำวงคือเจ้าภาพนั่นเอง อัตราค่าตั๋วรอบละ ห้าสิบสตางค์ ส่วนนางรำ ก็ได้ค่าตัวคืนละตั้งแต่ ๓๐ บาท จนถึง ๑๐๐ บาท สมัยก่อนนั้น ประมาณ ๖๐ กว่าปีมาแล้ว ค่าเงินยังแพงอยู่ ป้าสนม บุญประกอบ อดีตนางรำ ประจำคณะรำวง เล่าให้ฟังว่า ค่าตัวที่ได้รับในการแสดงนั้น เคยได้รับตั้งแต่ สามสิบบาท จนถึง หนึ่งร้อยบาท แล้วยังมีรายได้นอกเหนือจากค่าจ้าง คือถ้านักรำติดอกติดใจ ก็จะมีรางวัลรอบนอกอีก งานใดที่มีรำวงไปเล่น ย่อมแสดงถึงความมีฐานะของเจ้าภาพด้วย
ประวัติความเป็นมา
ชาติไทย เป็นชาติที่มีศิลปะการแสดงหลากหลาย ทั้งในระดับสังคมชาวบ้าน และในราชสำนัก ศิลปะการแสดงเหล่านี้ แสดงถึงวัฒนธรรมที่มีคุณค่าสูงส่งและความเป็นอารยชาติ ศิลปะการแสดงของไทย โดยเฉพาะโขน- ละคร เป็นศิลปะที่แฝงไว้ซึ่งภูมิปัญญา ที่มิใช่มีแต่ความงามแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นศิลปะที่ชาวโลกทุกคนควรจะได้สัมผัสและรับรู้ได้
ศิลปะการแสดงของไทย เชื่อกันว่ามีพื้นฐานมาจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการ
ประการแรก เกิดจากพื้นฐานอารมณ์สะเทือนใจของมนุษย์ เช่น ดีใจก็โลดเต้นส่งเสียงร้อง เสียใจก็ร้องไห้คร่ำครวญ ต่อมาจึงได้พัฒนาอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ให้เป็นพื้นฐานการแสดงในที่สุด
ประการที่สอง เกิดจากความเชื่อทางศาสนา เช่น เชื่อว่าสรรพสิ่งรอบตัวในธรรมชาติมีอำนาจที่เร้นลับแฝงอยู่ สามารถดลบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบเทพเจ้า การอ้อนวอนธรรมชาติหรือเทพเจ้าให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อประทานผลสำเร็จ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นต้นแบบให้เกิดการสวดอ้อนวอน การขับร้องดนตรี และการฟ้อนรำ
รูปแบบศิลปะการแสดงของไทยได้พัฒนาการมาเป็นลำดับ ทั้งในแนวของศิลปะพื้นบ้านหรือเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า การแสดงพื้นบ้าน เช่น รำ ระบำ และละครบางประเภท ส่วนอีกแนวหนึ่งนั้น เป็นศิลปะที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระอุปถัมภ์ของพระบรมวงศ์ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในชื่อว่า ศิลปะในราชสำนัก หรือการแสดงในราชสำนัก ซึ่งเป็นที่มาของรูปแบบนาฏศิลป์ประเภท โขน รำ ระบำ และละครรำ ในปัจจุบัน หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยผู้แสดงคนเดียว เรียกว่า รำเดี่ยว หรือผู้แสดงสองคน เรียกว่า รำคู่ แต่มีรำบางชนิดที่มีผู้แสดงมากกว่า ๒ คน แต่ยังเรียกว่า รำ เช่น รำสีนวล รำวง ฯลฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม การเคลื่อนไหวของผู้แสดงที่สอดประสานกับเพลงดนตรี ไม่มุ่งเน้นในเนื้อเรื่องการแสดงระบำ ปัจจุบัน หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยผู้แสดงจำนวนมากกว่า ๒ คน ขึ้นไป มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม ความพร้อมเพรียง การแปรแถวในขณะแสดง ประกอบกับการแต่งกาย และเพลงดนตรีที่ไพเราะ
การแสดงรำและระบำ อาจเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงในเรื่อง แต่ด้วยความงดงามดังกล่าว สามารถตัดทอนนำมาใช้แสดงเป็นชุดการแสดงที่เป็นเอกเทศได้ การแต่งกายของ รำ ระบำ แต่เดิมแต่งยืนเครื่องพระนาง ในปัจจุบันได้เกิดรำ ระบำแบบใหม่ ๆ ซึ่งแต่งกายตามสภาพหรือแต่งกายตามรูปแบบการแสดงละครประเภทต่าง ๆ
“รำโทน” เป็นศิลปะของคนในท้องถิ่น สาเหตุที่เรียกว่ารำโทนก็เนื่องจากใช้ “โทน” ลักษณะเป็นกลองหน้าเดียวเป็นเครื่องดนตรีหลักในการให้จังหวะ บางครั้งก็เรียกกันว่า “รำวง” โดยเรียกตามลักษณะการก้าวเท้าเคลื่อนย้ายตามกันเป็นวงของผู้รำ และเมื่อชาวกรุงไปพบเข้าจึงเรียกการรำชนิดนี้ว่า “รำวงพื้นเมือง”
รำวง หรือรำโทน ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ (proper noun) หรือชื่อตายตัว อย่างที่เป็นในระยะหลัง แต่ชาวท้องถิ่นจะเรียกศิลปะนี้ในชื่ออื่นแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และการร่ายรำชนิดนี้ที่มาจากภาคอีสาน หรือจังหวัดในภาคเหนือ ที่มีคนเชื้อสายลาวอาศัยอยู่ เช่น เพชรบูรณ์ ซึ่งสืบทอดถ่ายโอนมาจากลาว
ที่มาของรำโทน หรือรำวงนั้น ได้จากการเล่า “นิทานก้อม” หมายถึง นิทานสั้นๆ เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณ หรือเรื่องที่กุหรือแต่งขึ้นในภายหลัง การเล่านิทานก้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความสนุกสนาน ตลกโปกฮาและคลายทุกข์โศก ดังนั้นจึงนิยมจัดให้มีการเล่านิทานก้อมในงาน “งันเฮือนดี” หรืองานศพ เพราะเรื่องราวต่างๆในนิทานจะได้สร้างความเพลิดเพลินสนุกสนาน เป็นการปลุกปลอบให้กำลังใจแก่ญาติพี่น้องของคนตาย ให้ปลงและเลิกโศกเศร้าไปในตัว ส่วนแขกเหรื่อในชุมชนที่มาช่วยงานก็จะได้รับความสนุกเพลิดเพลิน ในขณะช่วยงานไปด้วย ลักษณะการรำโทนนั้นเป็นการรำคู่ระหว่างชายหญิงให้เข้ากับจังหวะโทน โดยไม่มีท่ารำกำหนดเป็นแบบแผนตายตัว ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รำโทนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายตามจังหวัดต่าง ๆ บทร้องมีหลายลักษณะ เริ่มตั้งแต่บทชมโฉม บทเกี้ยวพาราสี บทสัพยอกหยอกเย้า และบทพรอดพร่ำร่ำลาจากกัน
ในช่วง พ.ศ. ๒๔๘๔ อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เจรจาขอตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพื่อเป็นทางผ่านสำหรับลำเลียงเสบียง อาวุธ และกำลังพล เพื่อไปต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จำเป็นต้องยอมให้ทหารญี่ปุ่นตั้งฐานทัพ มิฉะนั้นจะถูกฝ่ายอักษะ ซึ่งมีประเทศญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วยนั้นปราบปราม ประเทศไทยขณะนั้นจึงเป็นเป้าหมายให้ฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตี ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดทำลาย ทำให้ชีวิตผู้คน บ้านเรือน ทรัพย์สินเสียหายยับเยิน โดยเฉพาะที่ที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น ส่วนใหญ่แล้วฝ่ายพันธมิตรจะส่งเครื่องบินมารุกรานจุดยุทธศาสตร์ในเวลาคืนเดือนหงาย เพราะจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ชาวไทยมีทั้งความหวาดกลัวและตึงเครียด จึงได้ชักชวนกันเล่นเพลงพื้นเมือง คือการรำโทน เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ที่ตึงเครียด ให้เพลิดเพลินสนุกสนานขึ้นบ้าง
การรำโทนนั้นใช้ภาษาที่เรียบง่าย เนื้อร้องเป็นเชิงเย้าแหย่ หยอกล้อ เกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างหนุ่มสาว ทำนองเพลง การร้อง ท่ารำ การแต่งกายก็เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนาน พอผ่อนคลายความทุกข์ไปได้บ้างเท่านั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกรงว่าชาวต่างชาติที่ได้พบเห็นจะเข้าใจว่า ศิลปะการฟ้อนรำ ของไทยมิได้ประณีตงดงาม ท่านจึงได้ให้มีการพัฒนาการรำโทนขึ้นอย่างมีแบบแผน ประณีตงดงาม ทั้งท่ารำ คำร้อง ทำนองเพลง และเครื่องดนตรีที่ใช้ ตลอดจนการแต่งกาย จึงเรียกกันว่า "รำวงมาตรฐาน" เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างต่อไป
รำวง มีกำเนิดมาจาก รำโทน แต่เดิมรำโทนเป็นการเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ที่นิยมเล่นกัน
ในฤดูเทศกาลของท้องถิ่นบางจังหวัด คำว่า “รำโทน” สันนิษฐานว่าเรียกชื่อจากการเลียนเสียงตามเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่เป็นหลัก คือ “โทน” ซึ่งตีเป็นลำนำเสียง “ ป๊ะ โทน ป๊ะ โทน ป๊ะ โทน โทน”
รำวง เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวบ้าน ที่ร่วมกันเล่นเพื่อความสนุกสนานและเพื่อความสามัคคี นิยมเล่นกันในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ รำวงนั้นเดิมเรียกว่า "รำโทน" เพราะใช้โทน เป็นเครื่องดนตรีตีประกอบจังหวะ โดยใช้โทนเป็นจังหวะหลัก มีกรับและฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีประกอบ แต่ไม่มีเนื้อร้อง ผู้รำก็รำไปตามจังหวะโทน ลักษณะการรำก็ไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์ เพียงแต่ย่ำเท้าให้ลงจังหวะโทน ต่อมามีผู้คิดทำนองและบทร้องประกอบจังหวะโทนขึ้น ต่อมารำโทนได้พัฒนาเป็น "รำวง" มีลักษณะคือ มีโต๊ะตั้งอยู่กลางวง ชาย - หญิงรำเป็นคู่ๆ ไปตามวงอย่างมีระเบียบ เรียกว่า "รำวงพื้นเมือง" เล่นได้ทุกงานเทศกาล ทุกฤดูกาล หรือจะเล่นกันเองเพื่อความสนุกสนาน
รำวงที่เล่นกันใน หมู่ที่ ๑ บ้านตะปอนใหญ่ ตำบลเกวียนหัก ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับรำวงทั่วไป คือ ชาย – หญิง รำเป็นคู่ ๆ แต่ที่มีลักษณะเด่น คือ ท่ารำที่เลียนแบบท่าทางของสัตว์ต่าง ๆ เช่น นกเขา กระต่าย ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียดในบทต่อๆ ไป
ศิลปะการแสดงของไทย เชื่อกันว่ามีพื้นฐานมาจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการ
ประการแรก เกิดจากพื้นฐานอารมณ์สะเทือนใจของมนุษย์ เช่น ดีใจก็โลดเต้นส่งเสียงร้อง เสียใจก็ร้องไห้คร่ำครวญ ต่อมาจึงได้พัฒนาอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ให้เป็นพื้นฐานการแสดงในที่สุด
ประการที่สอง เกิดจากความเชื่อทางศาสนา เช่น เชื่อว่าสรรพสิ่งรอบตัวในธรรมชาติมีอำนาจที่เร้นลับแฝงอยู่ สามารถดลบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบเทพเจ้า การอ้อนวอนธรรมชาติหรือเทพเจ้าให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อประทานผลสำเร็จ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นต้นแบบให้เกิดการสวดอ้อนวอน การขับร้องดนตรี และการฟ้อนรำ
รูปแบบศิลปะการแสดงของไทยได้พัฒนาการมาเป็นลำดับ ทั้งในแนวของศิลปะพื้นบ้านหรือเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า การแสดงพื้นบ้าน เช่น รำ ระบำ และละครบางประเภท ส่วนอีกแนวหนึ่งนั้น เป็นศิลปะที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระอุปถัมภ์ของพระบรมวงศ์ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในชื่อว่า ศิลปะในราชสำนัก หรือการแสดงในราชสำนัก ซึ่งเป็นที่มาของรูปแบบนาฏศิลป์ประเภท โขน รำ ระบำ และละครรำ ในปัจจุบัน หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยผู้แสดงคนเดียว เรียกว่า รำเดี่ยว หรือผู้แสดงสองคน เรียกว่า รำคู่ แต่มีรำบางชนิดที่มีผู้แสดงมากกว่า ๒ คน แต่ยังเรียกว่า รำ เช่น รำสีนวล รำวง ฯลฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม การเคลื่อนไหวของผู้แสดงที่สอดประสานกับเพลงดนตรี ไม่มุ่งเน้นในเนื้อเรื่องการแสดงระบำ ปัจจุบัน หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยผู้แสดงจำนวนมากกว่า ๒ คน ขึ้นไป มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม ความพร้อมเพรียง การแปรแถวในขณะแสดง ประกอบกับการแต่งกาย และเพลงดนตรีที่ไพเราะ
การแสดงรำและระบำ อาจเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงในเรื่อง แต่ด้วยความงดงามดังกล่าว สามารถตัดทอนนำมาใช้แสดงเป็นชุดการแสดงที่เป็นเอกเทศได้ การแต่งกายของ รำ ระบำ แต่เดิมแต่งยืนเครื่องพระนาง ในปัจจุบันได้เกิดรำ ระบำแบบใหม่ ๆ ซึ่งแต่งกายตามสภาพหรือแต่งกายตามรูปแบบการแสดงละครประเภทต่าง ๆ
“รำโทน” เป็นศิลปะของคนในท้องถิ่น สาเหตุที่เรียกว่ารำโทนก็เนื่องจากใช้ “โทน” ลักษณะเป็นกลองหน้าเดียวเป็นเครื่องดนตรีหลักในการให้จังหวะ บางครั้งก็เรียกกันว่า “รำวง” โดยเรียกตามลักษณะการก้าวเท้าเคลื่อนย้ายตามกันเป็นวงของผู้รำ และเมื่อชาวกรุงไปพบเข้าจึงเรียกการรำชนิดนี้ว่า “รำวงพื้นเมือง”
รำวง หรือรำโทน ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ (proper noun) หรือชื่อตายตัว อย่างที่เป็นในระยะหลัง แต่ชาวท้องถิ่นจะเรียกศิลปะนี้ในชื่ออื่นแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และการร่ายรำชนิดนี้ที่มาจากภาคอีสาน หรือจังหวัดในภาคเหนือ ที่มีคนเชื้อสายลาวอาศัยอยู่ เช่น เพชรบูรณ์ ซึ่งสืบทอดถ่ายโอนมาจากลาว
ที่มาของรำโทน หรือรำวงนั้น ได้จากการเล่า “นิทานก้อม” หมายถึง นิทานสั้นๆ เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณ หรือเรื่องที่กุหรือแต่งขึ้นในภายหลัง การเล่านิทานก้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความสนุกสนาน ตลกโปกฮาและคลายทุกข์โศก ดังนั้นจึงนิยมจัดให้มีการเล่านิทานก้อมในงาน “งันเฮือนดี” หรืองานศพ เพราะเรื่องราวต่างๆในนิทานจะได้สร้างความเพลิดเพลินสนุกสนาน เป็นการปลุกปลอบให้กำลังใจแก่ญาติพี่น้องของคนตาย ให้ปลงและเลิกโศกเศร้าไปในตัว ส่วนแขกเหรื่อในชุมชนที่มาช่วยงานก็จะได้รับความสนุกเพลิดเพลิน ในขณะช่วยงานไปด้วย ลักษณะการรำโทนนั้นเป็นการรำคู่ระหว่างชายหญิงให้เข้ากับจังหวะโทน โดยไม่มีท่ารำกำหนดเป็นแบบแผนตายตัว ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รำโทนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายตามจังหวัดต่าง ๆ บทร้องมีหลายลักษณะ เริ่มตั้งแต่บทชมโฉม บทเกี้ยวพาราสี บทสัพยอกหยอกเย้า และบทพรอดพร่ำร่ำลาจากกัน
ในช่วง พ.ศ. ๒๔๘๔ อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เจรจาขอตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพื่อเป็นทางผ่านสำหรับลำเลียงเสบียง อาวุธ และกำลังพล เพื่อไปต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จำเป็นต้องยอมให้ทหารญี่ปุ่นตั้งฐานทัพ มิฉะนั้นจะถูกฝ่ายอักษะ ซึ่งมีประเทศญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วยนั้นปราบปราม ประเทศไทยขณะนั้นจึงเป็นเป้าหมายให้ฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตี ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดทำลาย ทำให้ชีวิตผู้คน บ้านเรือน ทรัพย์สินเสียหายยับเยิน โดยเฉพาะที่ที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น ส่วนใหญ่แล้วฝ่ายพันธมิตรจะส่งเครื่องบินมารุกรานจุดยุทธศาสตร์ในเวลาคืนเดือนหงาย เพราะจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ชาวไทยมีทั้งความหวาดกลัวและตึงเครียด จึงได้ชักชวนกันเล่นเพลงพื้นเมือง คือการรำโทน เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ที่ตึงเครียด ให้เพลิดเพลินสนุกสนานขึ้นบ้าง
การรำโทนนั้นใช้ภาษาที่เรียบง่าย เนื้อร้องเป็นเชิงเย้าแหย่ หยอกล้อ เกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างหนุ่มสาว ทำนองเพลง การร้อง ท่ารำ การแต่งกายก็เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนาน พอผ่อนคลายความทุกข์ไปได้บ้างเท่านั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกรงว่าชาวต่างชาติที่ได้พบเห็นจะเข้าใจว่า ศิลปะการฟ้อนรำ ของไทยมิได้ประณีตงดงาม ท่านจึงได้ให้มีการพัฒนาการรำโทนขึ้นอย่างมีแบบแผน ประณีตงดงาม ทั้งท่ารำ คำร้อง ทำนองเพลง และเครื่องดนตรีที่ใช้ ตลอดจนการแต่งกาย จึงเรียกกันว่า "รำวงมาตรฐาน" เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างต่อไป
รำวง มีกำเนิดมาจาก รำโทน แต่เดิมรำโทนเป็นการเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ที่นิยมเล่นกัน
ในฤดูเทศกาลของท้องถิ่นบางจังหวัด คำว่า “รำโทน” สันนิษฐานว่าเรียกชื่อจากการเลียนเสียงตามเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่เป็นหลัก คือ “โทน” ซึ่งตีเป็นลำนำเสียง “ ป๊ะ โทน ป๊ะ โทน ป๊ะ โทน โทน”
รำวง เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวบ้าน ที่ร่วมกันเล่นเพื่อความสนุกสนานและเพื่อความสามัคคี นิยมเล่นกันในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ รำวงนั้นเดิมเรียกว่า "รำโทน" เพราะใช้โทน เป็นเครื่องดนตรีตีประกอบจังหวะ โดยใช้โทนเป็นจังหวะหลัก มีกรับและฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีประกอบ แต่ไม่มีเนื้อร้อง ผู้รำก็รำไปตามจังหวะโทน ลักษณะการรำก็ไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์ เพียงแต่ย่ำเท้าให้ลงจังหวะโทน ต่อมามีผู้คิดทำนองและบทร้องประกอบจังหวะโทนขึ้น ต่อมารำโทนได้พัฒนาเป็น "รำวง" มีลักษณะคือ มีโต๊ะตั้งอยู่กลางวง ชาย - หญิงรำเป็นคู่ๆ ไปตามวงอย่างมีระเบียบ เรียกว่า "รำวงพื้นเมือง" เล่นได้ทุกงานเทศกาล ทุกฤดูกาล หรือจะเล่นกันเองเพื่อความสนุกสนาน
รำวงที่เล่นกันใน หมู่ที่ ๑ บ้านตะปอนใหญ่ ตำบลเกวียนหัก ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับรำวงทั่วไป คือ ชาย – หญิง รำเป็นคู่ ๆ แต่ที่มีลักษณะเด่น คือ ท่ารำที่เลียนแบบท่าทางของสัตว์ต่าง ๆ เช่น นกเขา กระต่าย ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียดในบทต่อๆ ไป
ที่มา http://ich.culture.go.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น